วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554

น้ำพักน้ำแรงเพื่อนๆของเรา ปี 53

หัวข้องานวิจัยในชั้นเรียน        :       การแก้ปัญหาการอ่านไม่ค่อยออก และอ่านไม่คล่องโดยการใช้
แบบฝึกการอ่าน และแบบประเมินผลการอ่านออกเสียงของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2
ชื่อผู้วิจัย                        :             นางศิริวรรณ     อุปสิทธิ์   ตำแหน่ง  ครู  รับเงินเดือนอันดับคศ. 1      
ระดับการศึกษา                      :            ปริญญาตรี ( เอกการประถมศึกษา ) สถาบันราชภัฏพระนคร
ปีการศึกษา                     :            2553


บทคัดย่อ

งานวิจัยการแก้ปัญหาการอ่านไม่ค่อยออก และไม่คล่องโดยการใช้แบบฝึกการอ่าน และแบบประเมินผลการอ่านออกเสียงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2  โรงเรียนประชาภิบาล   สำนักงานเขตบางเขน   กรุงเทพมหานคร  ภาคเรียนที่  2  ปีการศึกษา  2553
ประชากร  คือ   นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  จำนวน  94  คน  โรงเรียนประชาภิบาล  สำนักงานเขตบางเขน   กรุงเทพมหานคร  ภาคเรียนที่  2  ปีการศึกษา  2553
                กลุ่มตัวอย่าง     คือ  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2  ซึ่งคัดเลือกจากนักเรียนที่มีปัญหาในการอ่านออกเสียงที่ไม่ค่อยได้  ไปจนถึงอ่านไม่คล่อง  จำนวน 5  คน  จากทั้งหมด 18  คน

                ผลการวิจัยพบว่า
                นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีการอ่านออกเสียงไม่ค่อยได้   และบางคนอ่านได้แต่ไม่คล่อง  บางคำต้องสะกดก่อนอ่าน  เมื่อได้พัฒนานักเรียนโดยการใช้แบบฝึกการอ่าน และแบบประเมินผลการอ่านออกเสียง โดยให้นักเรียนฝึกการอ่านออกเสียงแบบทดสอบละ  5  วัน ซึ่งนักเรียนต้องนำไปอ่านให้ผู้ปกครองฟังที่บ้านด้วยเสมอ แล้วมาทดสอบการอ่านกับครูเพื่อทำการประเมินการอ่านในแต่ละชุดว่านักเรียนมีพัฒนาการในการอ่านอยู่ในเกณฑ์ใด ผลปรากฏว่า เมื่อเฉลี่ยเพื่อหาเกณฑ์การประเมินคุณภาพการอ่านของนักเรียน  นักเรียนส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ร้อย  60 ขึ้นไป  ยกเว้นเพียง เด็กชายจักรชัย ที่มีผลการประเมินเฉลี่ยร้อยละ 50 ทั้งนี้เพราะอ่านไม่ค่อยออก แต่สรุปโดยรวมนักเรียนมีพัฒนาการอ่านที่ดีขึ้นเป็นที่น่าพอใจ


ชื่อวิจัย                   การแก้ปัญหาการอ่านไม่ออกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/1  โรงเรียนประชาภิบาล    เขตบางเขน                                    กรุงเทพมหานคร
ผู้วิจัย                      นางวิไลวรรณ   เสือสิ      ครูรับเงินเดือนอันดับคศ.2
ปีการศึกษา            2553
ที่ปรึกษาวิจัย         นายเนธิชัย   ปานสุวรรณ  ครูผู้ช่วยรับเงินเดือนอันดับ ครูผู้ช่วย


บทคัดย่อ

                                จากการสังเกตในขณะที่เรียนวิชาภาษาไทย  ในชั่วโมงแรกของการเริ่มเรียน ครูทดสอบให้นักเรียนอ่านบทเรียนเป็นรายบุคคลจึงพบว่า มีนักเรียนไม่สามารถอ่านหนังสือได้เลยจึงได้ทำการวิจัยโดยทำแบบทดสอบพยัญชนะไทย  44  ตัว  โดยให้ฝึกอ่านดังนี้
                แบบทดสอบชุดที่  1  อ่านพยัญชนะ ครั้งที่ 1  นักเรียนอ่านได้ดังนี้  จาก  44  ตัว  อ่านได้  40  ตัว  ตัวที่อ่านไม่ได้ส่วนมากจะเป็น  , , ,   แบบทดสอบชุดที่  1  ทำการทดสอบถึง  8  ครั้ง  ครั้งที่  8  นักเรียนจึงอ่านได้ถูกต้องหมดทุกตัว  นักเรียนยังอ่านได้ไม่คล่องเท่าที่ควร
                แบบทดสอบชุดที่  2  การอ่านสระจากการทดสอบทั้งหมด  12  ครั้ง  ครั้งแรก  จะอ่านได้  แต่  อะ, อา, อิ, อี, อุ, อู  เท่านี้  สระที่เหลือนักเรียนยังอ่านไม่ได้  จึงทำการอ่านรูปสระอยู่โดยใช้เวลาฝึกทั้งหมด  12  ครั้งด้วยกัน  แต่นักเรียนก็อ่านได้ยังไม่คล่องเท่าที่ควร  ครูจึงทำการฝึกอ่านสระและพยัญชนะให้ได้แม่นยำก่อนจึงจะฝึกให้อ่านเป็นคำ  แต่นักเรียนก็ยังไม่สามารถอ่านได้หมด
                แบบทดสอบชุดที่  3  ลองฝึกให้อ่านเป็นคำทั้งหมดมี  56  คำ  ต่อการทำวิจัยใน  3  เดือน  นักเรียนสามารถอ่านได้เฉพาะคำที่ไม่มีตัวสะกดและง่ายๆ  ส่วนตัวที่มีตัวสะกดจะอ่านได้เฉพาะคำที่สะกดในมาตรา แม่ กง , แม่ กม , แม่ กบ , แม่ กด  และเป็นตัวสะกดที่ตรงมาตรามีทั้งหมด  20  คำ  และอ่านแบบสะกดคำก่อนทุกครั้งที่เหลือจะเริ่มฝึกอ่านอีกครั้งในเทอม 2


หัวข้องานวิจัยในชั้นเรียน            การพัฒนาส่งเสริมรักการอ่าน  โดยการเล่านิทาน ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1/1 โรงเรียน
ประชาภิบาล 
ผู้วิจัย                                   นางชื่นชีวรรณ    พระชัยบูลย์   ตำแหน่ง  ครู รับเงินเดือนอันดับ คศ.2
ระดับการศึกษา                   ปริญญาตรีครุศาตรบัณฑิตวิชาเอก การศึกษาปฐมวัย สถาบันราชภัฎพระนคร
ปีการศึกษา                          2553

                                   
บทคัดย่อ
          
                     รายงานผลการวิจัยการพัฒนาส่งเสริมรักการอ่าน  โดยการเล่านิทาน ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1/1 โรงเรียนประชาภิบาล  สำนักงานเขตบางเขน   กรุงเทพมหานคร  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา  2553  โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกให้นักเรียนให้มีนิสัยรักการอ่าน  ฝึกทักษะการฟัง  มองภาพและตัวหนังสือในนิทาน  สามารถเล่าเรื่องราวให้ผู้อื่นเข้าใจได้   สร้างผลงานด้วยการวาดภาพตามจินตนาการจากเรื่องราวที่ได้ฟัง ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และมีทักษะในการแสวงหาความรู้กระตือรือร้นสนใจชอบอ่านหนังสือต่างๆให้ฟัง ปลูกจิตสำนึกให้มีนิสัยรักการอ่านมากยิ่งขึ้น

 ประชากร   คือ  นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1/1 จำนวน  34  คน โรงเรียนประชาภิบาล  สำนักงานเขตบางเขน  กรุงเทพมหานคร  ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา  2553

 กลุ่มตัวอย่าง    คือ   นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1/1 จำนวน  34  คน  โรงเรียนประชาภิบาล  สำนักงานเขตบางเขน  กรุงเทพมหานคร  ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา  2553

 ผลการวิจัย    พบว่านักเรียนจำนวน   34  คน มีพฤติกรรมแสดงออกชอบอ่านหนังสือ  สนใจเข้ามุมรักการอ่าน  เปิดอ่านหนังสือและดูรูปภาพ สนทนาเล่าเรื่องจากภาพให้เพื่อนฟัง  สามารถวาดภาพจากเรื่องที่อ่านถ่ายทอดความคิดและจินตนาการมีรายละเอียดเพิ่มมากขึ้น  สนทนาเล่าเรื่องราวให้ผู้อื่นเข้าใจได้มีความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง   ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข  มีนิสัยรักการอ่านส่งผลต่อการเรียนในระดับสูงต่อไป

 
ชื่องานวิจัย      :                                    การศึกษาการปรับพฤติกรรมความรับผิดชอบในการทำงานของนักเรียน
                                                               ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/3  โรงเรียนประชาภิบาล สำนักงานเขตบางเขน                   
                                                               กรุงเทพมหานคร  โดยการใช้การเสริมแรงทางบวก
ชื่อผู้วิจัย          :                                   นางสาวสาคร   มีกลิ่น
ระดับการศึกษา :                                การศึกษาบัณฑิต (สังคมศึกษา) มศว.บางเขน
ที่ปรึกษา          :                                    นางสาวปรียาภรณ์  ศรีวะรมย์
ปีการศึกษา       :                                   2553

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการปรับพฤติกรรมความรับผิดชอบในการทำงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/3 โรงเรียนประชาภิบาล  สำนักงานเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร
โดยการใช้การเสริมแรงทางบวก
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คัดเลือกนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/3  ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนประชาภิบาล  ที่มีพฤติกรรมการขาดความรับผิดชอบในการทำงานจำนวน 4 คน

ผลการวิจัย
                การให้แรงเสริมทางบวกคือ การให้ดาว สามารถลดพฤติกรรมการขาดความรับผิดชอบในการทำงานของนักเรียน ทั้ง 4 คนได้เป็นอย่างดี  เพราะนักเรียนมีความพึงพอใจที่ได้รับดาวเป็นแรงเสริม  มีความกระตือรือร้นในการทำงานมากขึ้น  เพื่อจะได้รางวัลหรือคำชมเชย  จึงสามารถนำวิธีการนี้ไปใช้กับการปรับพฤติกรรมของนักเรียนคนอื่นๆ ได้ต่อไป



ชื่องานวิจัย              :             การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมทักษะด้านการฟัง การมีวินัย                                       จากการเล่านิทานและเกม ชั้นอนุบาลปีที่1/2
ชื่อผู้วิจัย              :            นางสาวทิพย์กมล               มั่งทองคำ  
ระดับการศึกษา    :                      ครุศาสตรบัณฑิต  ( การศึกษาปฐมวัย ) 
ที่ปรึกษางานวิจัย:                     นางจินตนา    บุญไพโรจน์                                                      
ปีการศึกษา           :                              2553


บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อฝึกพื้นฐานทักษะการฟัง การมีวินัย จากกิจกรรมเสริมประสบการณ์ โดยการเล่านิทานและการเล่นเกม เพื่อสร้างเสริมพัฒนาการเด็กทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา จากตัวละครในนิทานที่เป็นตัวแบบที่หล่อหลอม พฤติกรรมและบุคลิกภาพของเด็ก ให้มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ส่วนการเล่นเกมนั้น ส่งเสริมพฤติกรรมของเด็กทางด้านสังคม เช่น ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การแบ่งปัน การร่วมมือ พฤติกรรมการช่วยเหลือ ทำให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะทางสังคมที่หลากหลาย เด็กได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน จากแผนการจัดประสบการณ์หลักสูตรสถานศึกษา / หลักสูตรการจัดการศึกษา ของโรงเรียนประชาภิบาล



วิจัยในชั้นเรียน                     การพัฒนาบทเรียนการ์ตูน   เรื่องการบวกทศนิยม  การลบทศนิยม  
และการคูณทศนิยมสำหรับใช้ในการสอนซ่อมเสริมระดับ
ประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประชาภิบาล      สำนักงานเขตบางเขน   
กรุงเทพมหานคร
ผู้วิจัย                                      นางสาวปรียาภรณ์   ศรีวะรมย์    ครู  รับเงินเดือนในอันดับ  คศ.1
ระดับการศึกษา                     ครุศาสตร์บัณฑิต  (ค.บ.) ( คณิตศาสตร์)
                ปีการศึกษา                             2553


การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาทักษะการแยกตัวประกอบของจำนวนนับของนักเรียน  ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  6   โรงเรียนประชาภิบาล  สำนักงานเขตบางเขน   กรุงเทพมหานคร ประชากรจำนวน 119  คน  และ กลุ่มตัวอย่างจำนวน  6  คน

จากผลการใช้บทเรียนการ์ตูนที่พัฒนาขึ้น  ปรากฎว่านักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ  และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในเรื่องทศนิยมสูงขึ้น  ซึ่งพิจารณาจากการสังเกตและทำแบบทดสอบก่อนและหลังเรียนจากบทเรียนการ์ตูน  ทั้งนี้อาจเป็นเพราะบทเรียนการ์ตูนเป็นนวัตกรรมที่ช่วยส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการบวก  การลบ  และการคูณทศนิยม 



ชื่อวิจัย                   การอ่านค่าตัวโน้ตสากลจากตารางโน้ตไทย เพื่อแก้ปัญหานักเรียนไม่เข้าใจค่าของตัวโน้ตสากลของ                        นักเรียน   ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3   โรงเรียนประชาภิบาล สำนักงานเขตบางเขน     กรุงเทพมหานคร
ผู้วิจัย                      นายเนธิชัย   ปานสุวรรณ  ครูผู้ช่วยรับเงินเดือนอันดับครูผู้ช่วย
ปีการศึกษา            2553
ที่ปรึกษาวิจัย         นางสาวเมธาวรินทร์   แตนต่อ  ครูรับเงินเดือนอันดับ คศ.1


บทคัดย่อ

                                การสอนอ่านโน้ตสากล ประสบปัญหาคือนักเรียนไม่เข้าใจอัตราจังหวะหรือค่าของตัวโน้ตแต่ละตัว  ทำให้ไม่สามารถอ่านโน้ตบนบรรทัด 5 เส้นได้ อันเนื่องมาจากความไม่คุ้นชิน และการมองโน้ตแต่ละตัวบนบรรทัด 5 เส้นไม่ชัดเจน ผู้วิจัยจึงได้แก้ปัญหาโดยการนำโน้ตสากล บรรจุลงตารางโน้ตแบบไทย เนื่องจากนักเรียนมีความเข้าใจการอ่านโน้ตแบบไทยในระดับค่อนข้างดี จึงทำให้นักเรียนมีความเข้าใจอัตราจังหวะของโน้ตสากลได้ง่ายขึ้น  เข้าใจจังหวะลักษณะต่างๆได้ง่ายและดีขึ้น  และเมื่อนักเรียนเข้าใจอัตราจังหวะและค่าของตัวโน้ตแล้ว จึงค่อยนำไปสู่การอ่านโน้ตบนบรรทัด 5 เส้นต่อไป

ลูกศิษย์ของครูหญิง